วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

มังกร ตอน2


โลกเรานี้มีมังกรจริงๆหรือไม่ หรือที่จริงแล้วมันเป็นสัตว์โลกประเภทใดแน่
ปีก - น่าจะเป็นอวัยวะสำคัญที่สุด ปีกมังกรละม้ายไปทางปีกค้างคาว สามารถพยุงน้ำหนักลำตัว ได้มากกว่าปีกนกธรรมดาๆ
กระเพาะอาหาร - หลายนี่แหละที่ทำให้มังกร มันลอยตัวในอากาศได้ กล่าวคือ ในกระเพาะนั้น ย่อมมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหาร ที่มันเขมือบเข้าไป และในกระบวนการย่อยนี้ ก็จะเกิดมีก๊าซไฮโดรเจนขึ้น ก๊าซนี้มีน้ำหนักเบากว่าอากาศถึง 14 เท่า จึงพยุงร่างให้ลอยขึ้นได้ นอกจากนี้ ไฮโดรเจนยังเป็นก๊าซไวไฟ เจ้ามังกรจึงใช้พ่นออกมาเผาผลาญอริของมันได้ โดยมันจะเก็บก๊าซนี้ไว้ในถุงลม ถึงยามจำเป็นจึงนำออกมาใช้
กระดูก - สัตว์ที่บินได้ทั้งหลาย ไม่ว่าค้างคาวหรือนก ล้วนมีโครงสร้างกระดูกเป็นโพรงกลวง ทำให้มีน้ำหนักเบา ช่วยให้ลอยตัวในอากาศได้ ดีขึ้น มังกรเองก็มีกระดูกลักษณะนี้เช่นกัน
ตัวจุดประกายไฟ - แม้จะผลิต ก๊าซไฮโดรเจนได้แล้ว แต่ก๊าซย่อมไม่ติดไฟขึ้นได้เอง ต้องอาศัยการเกิดประกายไฟ หรือสปาร์ก ในเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า เจ้ามังกรได้กินเอาหินชนวนเข้าไป พอหินย่อยแล้วก็จะกลายเป็น ผงทองคำขาว หรือแพลททินัม ซึ่งผงดังกล่าวนี้สามารถ ทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน แล้วลุกเป็นไฟให้เจ้ามังกรพ่นออกมาได้

การผสมพันธุ์ - จะเป็นแบบเดียวกับ ลูกหลานของมันประเภทหนึ่งคือ นกอินทรีหัวล้าน ซึ่งเป็นวิธีการพิสดารไม่เหมือนใคร โดยนกอินทรีตัวผู้ตัวเมียจะใช้กรงเล็บ เกาะกุมกันไว้กลางอากาศแล้วผสมพันธุ์ ช่วงนั้นมันทั้งคู่จะปราศจาก การควบคุมสมดุล และควงสว่านลงมาจากนภากาศ มันจะเสพสมสำเร็จ ในวินาทีก่อนที่จะตกกระทบพื้นดิน แล้วพลันโผผินบินขึ้นสู่ท้องฟ้าผละจากกัน มังกรตัวผู้ตัวเมีย ก็ผสมพันธุ์เฉกเช่นเดียวกับนกอินทรี หากแต่ตอนผละจากกันนั้น มันจะพ่นอัคคีออกมาพวยพุ่งเป็นสองลำในอากาศ
การหลอกศัตรู - เจ้ามังกรตัวน้อยๆนั้น อาจตกเป็นเหยื่อแก่ไดโนเสาร์โหดอย่างที-เร็กซ์ ได้โดยง่าย ใต้ปีกของมันจึงมีรูปดวงตาเบ้อเร่อสีสดใส ยามมีภัยมาใกล้ตัวมังกร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น